“อำเภอเวียงสา” เมืองหน้าด่านที่ต้อนรับนักท่องเที่ยวก่อนจะผ่านเข้าไปสู่อำเภอเมือง
ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองน่าน 25 กิโลเมตร เป็นอำเภอ ที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุดในจังหวัดน่าน มีแหล่งท่องเที่ยวในแบบศิลปะวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นที่ค่อนข้างยังบริสุทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิตผู้คน การค้า อาหาร วัดวาอาราม และธรรมชาติทุ่งนาป่าไม้พืชพรรณอันหลากหลายใบเขียวเต็มเทือกเขายาวไกล มากมายไปด้วยชนเผ่าโบราณอันหายากจนเรียกได้ว่า เกือบจะสูญพันธุ์ไปแล้ว ที่ยังคงดำรงชีวิตเป็นกลุ่มสังคมเล็กๆ อันบริสุทธิ์จนเกือบปราศจากวิถีชีวิตเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้เราติดตามดูและศึกษาได้อยู่ในเขตอำเภอเวียงสา นี้เอง
คำขวัญอำเภอเวียงสา “ประตูสู่น่าน ตำนานชนตองเหลือง เมืองเจ็ดสายน้ำ งามล้ำวัดบุญยืน เริงรื่นแข่งเรือออกพรรษา บูชาพระธาตุจอมแจ้ง”
ที่ตั้ง ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดน่าน ห่างอำเภอเมืองเป็นระยะทางประมาณ 25 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 101
(แพร่-ต่อเขตเทศบาลเมืองน่าน) อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร เป็นระยะทาง 643 กิโลเมตร
อาณาเขต อำเภอเวียงสา มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
• ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอบ้านหลวง อำเภอเมืองน่าน อำเภอภูเพียง และอำเภอแม่จริม
• ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงไชยะบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
• ทิศใต้ ติดต่อกับอำภอนาน้อย
• ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอร้องกวาง และอำเภอสอง จังหวัดแพร่
------------------------------------------------------------------------
เวียงสา ... เที่ยวไหนดี
• วัดบุญยืนพระอารามหลวง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 4 ตำบลกลางเวียง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน วัดบุญยืนเป็นพระอารามหลวง มีพระพุทธรูปยืนปาง เป็นพระประทานในพระอุโบสถ ได้รับพระราชทานโปรดเกล้าให้เป็นพระอารามหลวง มีโรงเรียนพระปริยัติธรรม
นอกจากไหว้พระแล้ว ยังจะได้ชมศิลปะของสถาปัตยกรรมที่งดงามแบบเมืองเหนือ ชมลายปูนปั้นแต่งลวดลายสีสัน ซึ่งดูดีๆ แล้วค่อนข้างคล้ายภาพกราฟฟิกสมัยใหม่อย่างน่าประหลาด การเล่นสีที่ดูว่าเยอะแต่พอมารวมๆ กันแล้วก็กลับลงตัวดูสวยงามคลาสสิคไปอีกแบบ มีมุมให้ถ่ายรูปเยอะ
ลานหน้าวัด ได้ทำเป็นศูนย์รวมผู้คน เป็น ข่วงเมืองสา มีตลาดของกินตอนเย็น ขนาดเล็กให้มาซื้อหากันนั่งกินเป็นขันโตก ลักษณะคล้าย ข่วงเมืองน่าน แต่มีขนาดเล็กกว่ามาก
นอกจากไหว้พระแล้ว ยังจะได้ชมศิลปะของสถาปัตยกรรมที่งดงามแบบเมืองเหนือ ชมลายปูนปั้นแต่งลวดลายสีสัน ซึ่งดูดีๆ แล้วค่อนข้างคล้ายภาพกราฟฟิกสมัยใหม่อย่างน่าประหลาด การเล่นสีที่ดูว่าเยอะแต่พอมารวมๆ กันแล้วก็กลับลงตัวดูสวยงามคลาสสิคไปอีกแบบ มีมุมให้ถ่ายรูปเยอะ
ลานหน้าวัด ได้ทำเป็นศูนย์รวมผู้คน เป็น ข่วงเมืองสา มีตลาดของกินตอนเย็น ขนาดเล็กให้มาซื้อหากันนั่งกินเป็นขันโตก ลักษณะคล้าย ข่วงเมืองน่าน แต่มีขนาดเล็กกว่ามาก
-----------------------------------------------------------------------
- เฮือนรถถีบ หรือ พิพิธภัณฑ์จักรยาน ตั้งอยู่ภายในปั๊มน้ำมันเชลล์ ถ.เจ้าฟ้า อ.เวียงสา จ.น่าน ถือเป็นแหล่งเรียนรู้ถึงพัฒนาการของรถจักรยานในยุคสมัยต่างๆ จนถึงปัจจุบัน ประวัติของเฮือนรถถีบนี้มีอยู่ว่า ครอบครัวเต็งไตรรัตน์ ซึ่งย้ายจาก อ.เด่นชัย จ.แพร่ เข้ามาตั้งรกรากอยู่ที่นี่ โดยเริ่มรับจ้างซ่อมจักรยาน และต่อมาเป็นตัวแทนขายจักรยานนำเข้าจากยุโรปหลายยี่ห้อ เช่น ราเลย์ กาเซีย โรบินฮูด ฟิลิปส์ นิวฮัทสัน ฯลฯ การขนส่งรถจักรยานจากกรุงเทพมาเมืองน่านในสมัยก่อนจะมาแบบเป็นชิ้นส่วนต่างๆ แล้วต้องมาประกอบเป็นคันที่ปลายทาง ร้านเต็งไตรรัตน์ จึงผ่านประสบการณ์นี้มาจนเป็นผู้ชำนาญการด้านนี้ไปโดยปริยาย แต่ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป จักรยานได้รับความนิยมน้อยลง ครอบครัวเต็งไตรรัตน์จึงหันมาขายจักรยานยนต์แทน ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นธุรกิจสถานีบริการน้ำมันเชลล์อย่างในปัจจุบัน จึงใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งด้านหลังปั๊มน้ำมันจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์จักรยานโบราณในชื่อ “เฮือนรถถีบ” เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับคนรุ่นหลัง ภายในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีการจัดแสดง จักรยานที่คุณสุพจน์สะสมไว้ ตั้งแต่รุ่นเก่าแก่ที่สุดซึ่งยังคงสภาพใช้งานได้ อย่างเช่น จักรยานที่ไม่มีโซ่ Hochrad 1880 ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 จักรยานพับได้รุ่นแรกๆ ที่ทหารอังกฤษใช้ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จักรยานที่มีแฮนด์ทำจากหวาย เบาะนั่งเป็นไม้ ไปจนถึงแบบที่มีโช้ค ใช้เทียนไขเป็นหลอดไฟ เรื่อยลงมาถึงรุ่นที่หลายคนยังพอทันได้เห็นเมื่อไม่กี่สิบปีก่อน นอกจากจะเสาะหาจักรยานโบราณมาสะสมไว้แล้ว เฮือนรถถีบวันนี้ยังเป็นตัวแทนในการจัดกิจกรรมพานักท่องเที่ยวขี่จักรยานชมเมืองเวียงสาด้วย เพื่อชมวิถีชีวิตผู้คนที่สงบเงียบเรียบง่าย โดยเส้นทางปั่นจักรยาน เริ่มต้นที่เฮือนรถถีบ มุ่งหน้าไปยังชุมชนบ้านดอนไชย เฮือนกะหล๊ก วัดบุญยืน อาคารประวัติศาสตร์ พระพุทธรูปไม้ รวมทั้งผ่านวิถีชีวิตเกษตรกรรมก่อนจะวนกลับมายังจุดเริ่มต้นอีกครั้ง
สนใจเยี่ยมชมเฮือนรถถีบหรือถีบจักรยานโบราณเที่ยวชมเมืองเวียงสา โทร.0 5478 1359 หรือ สอบถามกลุ่มฮักเมืองเวียงสา โทร.08 9020 2309, 08 5864 8920
------------------------------------------------------------
- วราภรณ์ผ้าทอ เป็นร้านผ้าที่อยู่คู่เมืองเวียงสามายาวนาน โดย คุณสมพิศ เทพศิริ เจ้าของร้านเล่าว่า การทอผ้าในหมู่บ้านมีการสืบทอดกันมาตั้งแต่รุ่นปู่ ย่า ตา ยาย ซึ่งในสมัยก่อนจะปลูกฝ้ายเอง จากนั้นก็นำมาปั่นให้เป็นเส้น ทอใส่เอง ใช้ลวดลายที่สืบทอดมาจากโบราณ เช่น ลายซิ่นม่าน ลายซิ่นปล้อง เมื่อมาถึงรุ่นลูกจะมีการดัดแปลงไปเยอะมาก ได้แก่ ลายน้ำไหล ซึ่งประยุกต์ไปตามแบบสมัยนิยม ลายคำเคิบ ทำเป็นกลุ่มยกดอก ซึ่งจะใช้ดอกสีอะไรก็ได้แล้วแต่ความพอใจ ซึ่งในสมัยก่อนจะทอด้วยมือทั้งหมด แต่ปัจจุบันมีการนำเครื่องมาใช้เพื่อการทอที่เร็วขึ้น หลังจากชาวบ้านว่างจากการทำไร่ทำนาก็จะมาร่วมกันทอผ้าเพื่อหารายได้เสริม ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สร้างความสนิทสนมกลมเกลียวในชุมชนและหมู่บ้าน สินค้าที่ได้มีหลากหลาย เช่น ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าขาวม้า ผ้าม่าน ราคาจะขึ้นอยู่กับความยากง่ายของลาย หรือผ้าบางชิ้นบางลายที่ทำยากมากๆ ก็จะทอขึ้นตามออร์เดอร์เท่านั้น ร้านวราภรณ์ผ้าทอ
ตั้งอยู่ที่ 56 หมู่ 7 ต.กลางเวียง อ.เวียงสา จ.น่าน 55110 โทร.0 5475 2201
--------------------------------------------------------------------
- บ้านน้ำมวบ อ.เวียงสา เพชรเม็ดงามท่ามกลางป่าน่าน หมู่บ้านนี้ห่างจากตัวอำเภอเวียงสาประมาณ 30กิโลเมตร หมู่บ้านธรรมชาติสวยงาม ที่หลบซ่อนตัวอยู่ภายใต้ร่มเงาของเทือกเขาหลวงพระบาง เทือกเขาสูงใหญ่ที่กั้นพรมแดนธรรมชาติ ระหว่างไทย กับ สปป.ลาว บ้านน้ำมวบ มีสิ่งที่น่าสนใจน่าเที่ยวหลายแห่ง บอกได้เลยว่าแต่ละที่เป็นที่สวยงาม Unseen ได้เลยจริงๆ และมีนักท่องเที่ยวรู้จัก และเคยมาเที่ยวน้อยมาก
เริ่มต้นมากราบไว้ "ศาลเจ้าพ่อช้างงาแดง" สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชาวบ้าน หลายคนมาสักการะแล้วบนบานศาลกล่าว ขอพรจากเจ้าพ่อช้างงาแดง ก็สำเร็จปรารถนากันไปอย่างมากมาย
เป็นวัดที่ตั้งอยู่บนเนินเขา ทำให้เห็นวิวได้สวยงาม ภายในวัดยังมี "หลวงพ่อทันใจศากยมุณีศรีแดนทอง" พระพุทธรูปองค์ใหญ่สีขาว ประดิษฐานอยู่ที่บริเวณระเบียงด้านหน้าวัด มองเห็ววิวทิวทัศน์จากจุดนี้ได้กว้างไกล
น้ำมวบ จึงได้ชื่อว่าเป็น "แดนสวรรค์แห่งน่านด้านใต้" และใต้เงาเทือกเขาหลวงพระบาง หมู่บ้านที่มีความเป็นธรรมชาติสมบูรณ์ รอนักท่องเที่ยวเข้าไปสัมผัส...
ᵔᴥᵔᵔᴥᵔᵔᴥᵔᵔᴥᵔᵔᴥᵔᵔᴥᵔᵔᴥᵔᵔᴥᵔᵔᴥᵔᵔᴥᵔᵔᴥᵔᵔᴥᵔᵔᴥᵔᵔᴥᵔᵔᴥᵔᵔᴥᵔᵔᴥᵔᵔᴥᵔᵔᴥᵔᵔᴥᵔᵔᴥᵔᵔᴥᵔ