มือใหม่...เริ่มลงทุน - BeeLoSoPhy

BeeLoSoPhy

ไลฟ์สไตล์ ท่องเที่ยว ออกกำลังกาย ครอบครัว สุขภาพ

7 กันยายน 2559

มือใหม่...เริ่มลงทุน




       อยากรู้ไหม... ทำไมต้องลงทุน?

       ก็เพราะเราทุกคนต่างมีความฝัน แต่กว่าความฝันจะเป็นจริง คุณต้องใช้เวลาเท่าไหร่ ลองคิดเล่นๆ หากคุณต้องการเงิน 1 ล้านบาท เพื่อไปทำตามความฝัน ถ้าเก็บเงินเดือนละ 1,000 บาท โดยปล่อยให้เงินนอนนิ่งๆ อยู่ในบัญชีเงินฝากเพียงอย่างเดียว คงต้องใช้เวลาประมาณ 49 ปี กว่าจะมีเงิน 1 ล้านบาท นานขนาดนี้หลายๆ ความฝันอาจหลุดลอย ไปไม่ถึงฝั่งฝันอย่างที่ตั้งใจไว้
   แต่หากคุณกล้าที่จะปล่อยเงินให้ออกมายืดเส้นยืดสายทำงานแทนคุณดูบ้าง ลองนำเงินเดือนละ 1,000 บาทนี้ไปลงทุน คุณจะใช้ เวลาในการเก็บเงินน้อยลงหลายเท่าตัว นั่นเพราะ “การลงทุน” เปรียบเสมือนทางด่วนสู่ความมั่งคั่ง การออกตัวที่ดี ตั้งต้นได้เร็ว และเดินตามแผนที่วางไว้ ย่อมช่วยให้ถึงเส้นชัยได้สมใจหวัง

หากคุณพร้อมแล้ว ...

เราจะออกเดินทางไปสานสร้างเส้นทางสู่ความฝันด้วย
 "การลงทุน"   พร้อมๆ กัน
ลงทุนง่ายๆ แบบ Step by Step


1รู้จักตนเอง
สำหรับผู้ลงทุนมือใหม่หรือหลายๆ คนที่สนใจลงทุน แต่ยังจับต้นชนปลายไม่ถูก
 ไม่รู้จะลงทุนอย่างไร ไม่รู้จะเริ่มต้นตรงไหน ลองเริ่มจาก "รู้จักตัวเอง"
ให้ลึกซึ้งขึ้นอีกนิด ถามตัวเองให้แน่ใจก่อนว่า "เป้าหมาย" การลงทุนของคุณ
คืออะไร? ต้องการใช้เงินประมาณเท่าไหร่? และต้องการบรรลุเป้าหมายเมื่อใด?

จากนั้นค่อยพิจารณา "เงื่อนไข" ในการลงทุนว่า
คุณ...
  • อายุเท่าไร
  • ชอบ สนใจ หรือถนัดสินทรัพย์ประเภทไหน
  • มีประสบการณ์ลงทุนหรือไม่
  • มีเงินลงทุนมากน้อยเพียงใด
  • ต้องการผลตอบแทนรูปแบบใด เท่าไหร่
  • มีเวลาติดตามข่าวสารด้านการลงทุนหรือไม่
  • หากขาดทุน จะยอมรับได้ในวงเงินไม่เกินเท่าไร
  • หากได้กำไร จะขยายวงเงินในการลงทุนหรือไม่
ที่สำคัญคือ "ยอมรับความเสี่ยงได้แค่ไหน?"
เพราะสิ่งเหล่านี้แหละที่จะตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดีว่า...
ทางเลือกลงทุนแบบไหนและสัดส่วนการลงทุนแบบใดที่จะเหมาะกับคุณมากที่สุด
ตรวจสอบระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

ทดลองเปิดใช้งานการลงทุน อนุพันธ์ ออปชั่น... คลิ๊ก 











2รู้จักทางเลือกลงทุน
    เมื่อรู้จักตัวเองมากขึ้น ก็ต้องทำความรู้จักกับสิ่งที่คุณจะลงทุนด้วย เพราะทุกวันนี้นอกจาก
 "เงินฝากธนาคาร" ที่เราคุ้นเคยกันดีแล้ว ยังมีทางเลือกลงทุนให้เลือกมากมาย แต่เพื่อ
ไม่ให้ปวดเศียรเวียนเกล้าจนเกินไป คุณอาจไม่ต้องทำความรู้จักกับทางเลือกทั้งหมด
ในตอนนี้ แค่แบ่งทางเลือกลงทุนเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ

แต่เพื่อให้แน่ใจว่า... ทางเลือกที่คุณจะลงทุนนั้น เหมาะกับเป้าหมายและข้อจำกัดในการลงทุน
ของคุณจริงๆ คุณอาจต้องเข้าใจถึงคุณสมบัติเฉพาะตัว ความเสี่ยงและผลตอบแทน ตลอดจน
ข้อดีข้อเสียของทางเลือกต่างๆ อย่างลึกซึ้ง ซึ่งเป็นหนทางเดียวที่จะช่วยให้คุณจัดสรร
เงินลงทุนได้อย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับเป้าหมายที่ตั้งไว้

3สร้างพอร์ตและจัดทำคัมภีร์ลงทุน
มาถึงตรงนี้... คุณคงรู้จักตนเองและรู้จักทางเลือกลงทุนประเภทต่างๆ มากขึ้นแล้ว
 แต่อย่าเพิ่งใจร้อนตัดสินใจลงทุน เพราะการลงทุนที่ประสบความสำเร็จจะต้องมี
 "การสร้างพอร์ตลงทุนที่เหมาะกับตนเอง" ซึ่งพอร์ตการลงทุนที่ดี ควรมีลักษณะดังนี้
อย่างไรก็ตาม คุณไม่จำเป็นต้องมีพอร์ตลงทุนแค่พอร์ตเดียว แต่อาจมีหลายพอร์ต
ตามวัตถุประสงค์ของการลงทุนของเงินก้อนนั้น ซึ่งสัดส่วนการลงทุนในแต่ละพอร์ต
อาจแตกต่างกันไปตามระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และระดับอัตราผลตอบแทน
ที่คาดหวัง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการลงทุนนั้นๆ
หลังจากหาแนวทางการจัดพอร์ตในแบบที่ "ชอบ" และ "ใช่" ได้แล้ว คุณก็ต้องเลือก
หลักทรัพย์รายตัว (Securities Selection) มาเข้าพอร์ตตามสัดส่วนของสินทรัพย์
แต่ละประเภทที่กำหนดไว้ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการวิเคราะห์สถานการณ์
โดยรวมของตลาด และข้อมูลเกี่ยวกับสินทรัพย์ลงทุนนั้นๆ เป็นรายตัว
เพื่อพิจารณาว่าจะเลือกลงทุนในหลักทรัพย์ตัวใด

และเมื่อมีแนวทางการจัดสรรเงินลงทุนที่แน่นอนแล้ว อย่าลืม... เขียนคัมภีร์
การลงทุนหรือ "นโยบายการลงทุน" ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร สำหรับใช้เป็น
กรอบในการตัดสินใจลงทุนด้วย ซึ่งคุณควรปรับปรุงนโยบายการลงทุนให้
เป็นปัจจุบันเสมอ

นโยบายการลงทุน ควรมีข้อมูลต่างๆ ดังต่อไปนี้

1
เป้าหมายการลงทุน จำนวนเงิน และระยะเวลาลงทุน
2
ข้อจำกัดในการลงทุน และระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
3
ระดับอัตราผลตอบแทนที่ต้องการ
4
วิธีการสร้างพอร์ตการลงทุน และแนวทางการคัดเลือก
สินทรัพย์ที่ช่วยให้บรรลุเป้าหมาย
5
วิธีการติดตามและทบทวนผลการลงทุนรวมถึงเกณฑ์
มาตรฐาน (Benchmark) ที่ใช้เปรียบเทียบผลตอบแทน
จากการลงทุน

4ลงมือทำตามแผน

ในที่สุด... ก็ถึงเวลาเริ่มลงทุนกันจริงๆ เสียที แต่ก่อนที่จะลงทุนในหลักทรัพย์
ใดๆ ได้นั้น คุณต้องทำการ "เปิดบัญชี" เพื่อใช้ในการซื้อหรือขายก่อน
ขั้นตอนการเปิดบัญชี กรณีลงทุนใน หุ้น ตราสารหนี้ ETF หรืออนุพันธ์
กรณีลงทุนในหุ้น ตราสารหนี้ ETF หรืออนุพันธ์ ต้องเปิดบัญชีกับบริษัทหลักทรัพย์ (บล.)
 หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า "โบรกเกอร์"
1
ติดต่อกับบริษัทหลักทรัพย์ เพื่อขอเปิดบัญชีซื้อขายหุ้น ผ่านเจ้าหน้าที่การตลาด หรือผ่านอินเทอร์เน็ต (บนเว็บไซต์ของบริษัทหลักทรัพย์)
2
กรอกใบคำขอเปิดบัญชีพร้อมหลักฐานที่ใช้ในการเปิดบัญชีส่งให้บริษัทหลักทรัพย์ และรอผลการพิจารณาประมาณ 1-2 สัปดาห์
3
เมื่อได้รับอนุมัติเปิดบัญชแล้ว คุณจะได้รับเลขที่บัญชีและ/หรือรหัสซื้อขาย (Pin Number) จากบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งต้องเก็บไว้เป็นความลับ
4
เพียงเท่านี้ คุณก็สามารถส่งคำสั่งซื้อขายหุ้นผ่านเจ้าหน้าที่การตลาดหรือผ่านทางอินเทอร์เน็ตไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน ก็ตาม

ประเภทบัญชี

บัญชีเงินสด (Cash Account)
"ลงทุนก่อน จ่ายเงินทีหลัง"
บัญชีแคชบาลานซ์ (Cash Balance)
"จะซื้อต้องมีเงิน จะขายต้องมีหลักทรัพย์"
บัญชีมาร์จิน (Margin Account) หรือ 
เครดิตบาลานซ์ (Credit Balance)

"มีเงินส่วนหนึ่ง กู้เพื่อซื้อหลักทรัพย์อีกส่วนหนึ่ง"

หลักฐานในการขอเปิดบัญชี

สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
สำเนาทะเบียนบ้าน
สำเนาบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 6 เดือน
 
ขั้นตอนการเปิดบัญชีกรณีลงทุนใน กองทุนรวม

ในการเปิดบัญชีครั้งแรกคุณต้องติดต่อขอเปิดบัญชีกับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) แต่ละแห่ง หรือตัวแทนขายของบลจ. แต่ในครั้งถัดไปหากจะทำรายการซื้อหรือขายคืนให้แก่ บลจ. หรือตัวแทนขาย อาจมีบริการ ที่อำนวยความสะดวกเพิ่มขึ้น เช่นการซื้อขาย หน่วยลงทุนผ่านทางอินเตอร์เน็ต ทางตู้เอทีเอ็ม และทางระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่
1
ติดต่อขอเปิดบัญชีกับ บริษัทหลักทรัพย์จัด การกองทุน (บลจ.)หรือตัวแทนขายของ บลจ.
2
กรอบคำขอเปิดบัญชีกองทุนรวมและคำสั่งซื้อ หน่วยลงทุน
3
หลังจากชำระเงินค่าหน่วยลงทุนเรียบร้อยแล้ว บลจ. จะออกหลักฐานยืนยันการลงทุนให้ (Fund Book หรือหนังสือรับรองสิทธิ์ในหน่วยลงทุน)
4
หลังจากชำระค่าหน่วยลงทุนเรียบร้อยแล้ว บลจ. จะออกหลักฐานยืนยันการลงทุนให้ (Fund Book หรือหนังสือรับรองสิทธิ์ในหน่วยลงทุน)

หลักฐานในการขอเปิดบัญชี

สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
สำเนาทะเบียนบ้าน
สำเนาบัญชีเงินฝากของธนาคาร ที่เป็นตัวแทน ขายกองทุนนั้นๆ
เมื่อมีบัญชีพร้อมจะลงทุนแล้ว ก็ต้อง "ลงทุนตามนโยบายการลงทุนที่วางไว้" เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและได้ผลตอบแทนตามที่ต้องการ ที่สำคัญ... อย่าลืม จดบันทึกรายการซื้อขายหลักทรัพย์ เก็บไว้ทุกรายการ เพื่อประโยชน์ ในการวิเคราะห์และติดตามผลการลงทุนต่อไป
5ติดตามและทบทวนแผนการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ
ขั้นตอนสุดท้าย... คุณต้องมีการ "ติดตามผล" กล่าวคือ หมั่นตรวจสอบสถานะการลงทุนของตนเป็นประจำ อาจจะทุก 6 เดือน หรือ 1 ปี ก็ได้ ว่าเป็นไปตามเป้าหมายการลงทุนที่กำหนดไว้ตอนต้นหรือไม่ หากไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ จะได้ "ปรับพอร์ตการลงทุน" ของตนได้ทันท่วงที

วิธีคำนวณผลตอบแทนของพอร์ตลงทุน


  1. 1.
    กำหนดอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังของสินทรัพย์แต่ละประเภท ( Ri )
    โดยพิจารณาจากข้อมูลผลตอบแทนในอดีต
  2. 2.
    คำนวณผลตอบแทนของสินทรัพย์แต่ละประเภทตามสัดส่วนการลงทุนในพอร์ต ( WiRi ) เช่น
    ตราสารทุน = 30% x 12.0% = 3.6%
    ตราสารหนี้ = 40% x 5.0% = 2.0%
    เงินฝาก = 30% x 1.0% = 0.3%
  3. 3.
    คำนวณอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังของพอรต์ ( ∑WiRi ) เช่น
    อัตราผลตอบแทนที่คาดหวังของพอร์ตระมัดระวังเท่ากับ
    5.9% (3.6% + 2.0% + 0.3%)
ไม่ว่าผลตอบแทนที่คำนวณได้ จะออกมาเป็นบวกหรือลบ อย่าเพิ่งด่วนตัดสินใจว่าคุณไม่เก่ง หรือตัดสินใจเลือกหลักทรัพย์ ผิดพลาดไป เพราะยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ต้องดูอีกด้วย วิธีการหนึ่งที่ จะทำให้เห็นภาพชัดขึ้นว่า... คุณมีฝีมือพอ ใช้ได้หรือไม่นั้น ต้องเปรียบเทียบกับ "เกณฑ์มาตรฐาน" หรือที่เรียกง่ายๆ ว่า "Benchmark"นั่นเอง
ทั้งนี้การพิจารณาการลงทุนอย่างรอบคอบก่อนลงทุนและทบทวน แผนการลงทุนอย่างสม่ำเสมอจะช่วยเพิ่มความมั่นใจในการลงทุน และช่วยลดความวิตกกังวลในการลงทุนลงได้
ประเภท
สินทรัพย์
เกณฑ์มาตรฐาน
(Benchmark)
เงินฝากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือน เฉลี่ยของ BBL, KBANK, KTB, SCB
แหล่งข้อมูล: www.bot.or.th
ตราสารหนี้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตร รัฐบาลที่มีอายุ 1, 5, 10 และ 20 ปี
แหล่งข้อมูล: www.thaibma.or.th
ตราสารทุนอัตราผลตอบแทนของ SET Index หรือ SET50 Index
แหล่งข้อมูล: www.set.or.th
ฝากทิ้งท้าย...

คาถาสำหรับมือใหม่... เริ่มลงทุน ไว้สักนิด
"เส้นชัยแห่งการลงทุนรออยู่ข้างหน้า สักวันต้องไปถึง"





..............................................................................
Cr.  ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น