หลักการ รวบยอดสำหรับ #นักลงทุน - BeeLoSoPhy

BeeLoSoPhy

ไลฟ์สไตล์ ท่องเที่ยว ออกกำลังกาย ครอบครัว สุขภาพ

23 ธันวาคม 2558

หลักการ รวบยอดสำหรับ #นักลงทุน


PopAds.net - The Best Popunder Adnetwork
สร้างรายได้จาก PopAds  Click !!

หลักการรวบยอดสำหรับ #นักลงทุน ก็คือ การเลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม และถือมัน ตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่

ถือว่าเป็นศิลปะชั้นสูงที่ทำให้ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ก้าวไปสู่นักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก แล้วจะแปลกอะไรที่ในวันข้างหน้าถ้าเราต้องการให้พอร์ตของเรายิ่งใหญ่ เราก็จำเป็นต้องเข้าให้ถึงความหมายที่แท้จริงของมัน

จากหลักการรวบยอด ผมได้ตีความหมายของคำพูด ดังนี้

1. การเลือกบริษัทที่ดี


ผมคิดว่า บริษัทที่ดีในที่นี่ คือบริษัทที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขัน สินค้าหรือบริการ ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคอุปโภค และต้องเป็นธุรกิจที่ยิ่งเวลาผ่านไป บริษัทจะกลายเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่เป็นธุรกิจยักษ์ มีรายได้ระดับแสนล้าน หรือ ล้านล้านบาท

หรือพูดง่ายๆ บริษัทจะต้องโตขึ้นไปเรื่อยๆ อีกนาน เช่นในเมืองไทย ถ้าเป็นบริษัทค้าปลีก ก็ CPALL มีความได้เปรียบทุกด้าน ไม่ว่าขนาด รูปแบบการได้มาซึ่งกำไร คู่แข่งเข้ามายาก รายได้ของบริษัทโตจากหลักพันล้าน โตเป็นหมื่นล้าน โตเป็นแสนล้าน และต้องโตต่อไป ถ้าเป็นบริษัทที่เมืองนอก ก็บริษัทโค้ก Coca-Cala(KO)  บริษัทบัตรเครดิตอเมริกันเอ็กเพรส  American Express(AXP)

2. ในราคาที่เหมาะสม

บัฟเฟตต์ไม่เน้นว่าจะต้องเป็นของถูก แต่ก็ต้องไม่แพงเวอร์  ด้วยเหตุผลที่บริษัทที่ดีมันมีจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับบริษัททั้งหมดที่มีอยู่ เมื่อเจอบริษัทที่ดีการรอให้บริษัทที่ดีขายในราคาที่ถูก อาจทำให้พลาดโอกาสการลงทุนไปได้ แสดงถึงมุมมองของ บัฟเฟต์ที่ต้องการลงทุนและเป็นเจ้าของบริษัทที่ดีมีความหมายมากกว่าสิ่งอื่นใด

3. ส่วนบริษัทที่ดีแต่ราคาแพง

ถ้าเราลงทุนก็จะทำให้เสียเวลาการลงทุนในช่วงต้น เนื่องจากต้องรอให้บริษัทโตทันกับราคาที่แพง ดังนั้นบริษัทที่ดีราคาแพง เรามี 2 วิธีที่จะจัดการ
 วิธีแรกคือรอให้ราคาที่แพงลดลงมาสู่ในราคาที่เหมาะสม วิธีที่สอง รอให้เวลาผ่านไปให้บริษัทที่ดีโตทันราคาที่แพง ราคาที่แพงก็จะกลายเป็นราคาที่เหมาะสมได้เหมือนกัน


4. และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่

แสดงถึงความต้องการการลงทุนในระยะเวลาอันยาวนานกับบริษัทที่ดี และเห็นพลังของการทบต้นทบดอกในบริษัทเดิมมีพลังมากยิ่งกว่า การซื้อมาขายไป ถึงแม้ว่าในบางปีจะมีคนมาเสนอซื้อต่อในราคาที่แพง แต่ราคาที่แพงในปีนี้จะกลายเป็นถูกมากในปีข้างหน้าตราบใดที่กิจการบริษัทยังดีอยู่

5. เหตุผลที่สำคัญอีกข้อหนึ่งที่ ผมคิดว่าบัฟเฟตต์ไม่ขาย หุ้นออกไปแม้ว่าจะมีคนมาเสนอซื้อในราคาที่แพงก็ตาม เนื่องจากจำนวนหุ้นมหาศาลที่ครอบครองขายออกไปแล้วซื้อกลับคืนทำได้ยากกับบริษัทที่ดี   ยกตัวอย่างบริษัทโค้กที่ถือครอง 200 ล้านหุ้น การขายหุ้นจำนวน 200 ล้านหุ้นออกไปในราคาที่แพงเป็นเรื่องง่ายกว่า การซื้อหุ้น 200 ล้านหุ้นในราคาที่เหมาะสม เพราะหุ้นบริษัทที่ดีคนที่ลงทุนแนว VI ซื้อแล้วเรียกได้ว่า "อม" ไม่ออกมาหมุนเวียนในตลาด

6.  นักลงทุนรายย่อย อาจยังไม่มีปัญหาในข้อที่ 5 ด้วยจำนวนหุ้นที่น้อยสามารถทำการขายและซื้อคืนได้ง่าย แต่ในที่สุดเมื่อพอร์ตโตก็จะประสบกับปัญหาเดียวกัน ก็ต้องเข้าไปใช้กลยุทธ์ "ถือมันตราบที่มันเป็นกิจการที่ดีอยู่"

7.  มีคำพูดต่อเนื่อง จากนี้อีกคือ "มันเรื่องดีกว่ามากที่จะซื้อบริษัทที่ดีเยี่ยมในราคายุติธรรม แทนที่จะซื้อบริษัทที่ดีพอควรในราคาที่ถูกมาก"

ผมมองว่า บริษัที่ดีเยี่ยมคือบริษัทที่จะโตไปอีกยาวนาน ส่วนบริษัทที่ดีพอควร อนาคตไม่แน่ไม่นอน คำพูดนี้เป็นการตอกย้ำว่า การทบต้นทบดอกในบริษัทที่ดีเยี่ยมในระยะเวลายาวนานได้ผลตอบแทนดีกว่า แม้ว่าการซื้อบริษัทที่ดีพอควรที่ได้รับส่วนลด เพราะบริษัทแรกจะโตและมั่นคงกว่าแบบที่สอง และในที่สุดมันก็ให้ผลตอบแทนแซงแบบที่สอง

8. ไม่มีอะไรที่ดีกว่า การลงทุนในบริษัทที่ดีเยี่ยมแล้วถือไปตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดี สบายมากครับไม่มีอะไรดีกว่านี้อีกแล้ว ไม่ต้องมาดูราคาหุ้น เฝ้าจอ หรือรอเฝ้าดูสัญญาณซื้อ-ขาย ตามคำสั่งคอมพิวเตอร์ แต่จะว่าไปแล้ว การอยู่นิ่งๆ หลังจากซื้อหุ้นบริษัทดีแล้ว ทำได้ยากกว่า การเลือกบริษัทที่ดีเสียอีกครับ


Cr. อาจารย์ประเสริฐ เสวีกุล


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น